โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride : PVC)

โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride : PVC) หรือที่เรียกกันว่า “พีวีซี” เป็นพลาสติกที่ได้จากไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ได้มาจากเอทิลีนและคลอรีน พีวีซีได้รับการคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1912 แต่ผลิตออกจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1931 เนื่องจากเป็นช่วงสงครามกองทัพนาซีของเยอรมนีมีการผลิตผ้าเรยอนจำนวนมากทำให้มีคลอรีนซึ่งเป็นผลพลอยได้เกิดขึ้นจำนวนมากด้วย พีวีซีเป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก คือ หลอมเป็นของเหลวได้ โดยที่อุณหภูมิห้องจะอยู่ในสถานะของแข็ง

ผลิตภัณฑ์จากพีวีซี
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนจำนวนมากผลิตจากพีวีซี ตัวอย่างเช่น
          กลุ่มของใช้ในบ้าน ได้แก่ ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ต้นคริตส์มาสปลอม เฟอร์นิเจอร์หนังเทียม แผ่นใส่รูปถ่าย ชั้นวางของ รถเข็นเด็ก ม่านในห้องอาบน้ำ ของเล่นเด็ก เตียงน้ำ เป็นต้น
กลุ่มของใช้ในครัว ได้แก่ กล่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ภาชนะบรรจุเครื่องดื่ม อาหาร ตะแกรงคว่ำจาน เครื่องล้างจาน ตู้เย็น วัสดุห่อหุ้มอาหาร เครื่องครัวที่เป็นพลาสติก ผ้าปูโต๊ะ เป็นต้น
          กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ ชุดกันเปื้อน กระเป๋า  เป้สะพานหลัง (เคลือบพีวีซีกันน้ำ) รองเท้าบูท เสื้อผ้าชั้นในสตรี เสื้อกันฝน กระโปรง รองเท้า เป็นต้น
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทางการแพทย์ ได้แก่ ถุงใส่เลือด สายหรือท่อสำหรับสอดเข้าร่างกาย ถุงมือ หลอดต่าง ๆ เป็นต้น
          กลุ่มรถยนต์ ได้แก่ ที่นั่งสำหรับเด็ก แผงหน้าปัด บานประตู กรวยจราจร ผ้าปูเบาะ เคลือบสายไฟ เคลือบตัวถัง เป็นต้น
          กลุ่มวัสดุอาคาร ได้แก่ กรอบประตู รั้ว พื้น ท่อ กระเบื้อง วัสดุปูผนัง กรอบหน้าต่าง บานเกล็ดหน้าต่าง ฉนวนสายไฟสายเคเบิล เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อีกมากมายทั้งผลิตภัณฑ์สำนักงาน บรรจุภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ

พีวีซีอันตรายอย่างไร
พีวีซีเป็นพลาสติกที่มีพิษมากที่สุดในโลก สามารถก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ทุกขั้นตอนในวงจรชีวิตของพีวีซี

อันตรายตอนใช้ :  สารเติมแต่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพพีวีซี เช่น สารพลาสติกไซเซอร์และสารอื่น ๆ ได้แ่ก พาทาเลท สารแต่งสีซึ่งมีตะกั่ว และแคดเมียม สารทำให้ีคงตัว (stabilizers) เช่น แบเรียมสามารถแพร่กระจายออกมาจากพีวีซีได้ในกรณ๊ที่ใช้่ใสหรือห่อหุ้มอาหารสารเหล่านี้สามารถปนเปื้อนในอาหารได้

          อันตรายตอนเผาทำลาย : เมื่อพีวีซีซึ่งมีคลอรีนเป็นองค์ประกอบเผาไหม้จะให้ก๊าซที่เป็นกรดสารพิษไดออกซิน และสารออกาโนคลอรีนอื่น ๆ การเผาพีวีซี 1 กิโลกรัมจะให้ไดออกซินออกมามากเพียงพอที่จะทำให้สัตว์ทดลอง 50,000 ตัวเกิดมะเร็ง ในควันที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จะมีไฮโดรเจนคลอไรด์ซึ่งรวมตัวกับความชื้น (น้ำ) ได้เป็นกรดไฮโดรคลอริกซึ่งมีฤทธ์กัดกร่อนสูง
อันตรายในขั้นตอนรีไซเคิลและผลิต : มีรายงานการศึกษาที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานในโรงผลิตไวนิลคลอไรด์และการเพิ่มขึ้นของโรคต่าง ๆ ได้แก่ มะเร็งตับชนิดที่พบไม่บ่อย มะเร็งสมอง มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งระบบน้ำเหลือง และตับแข็ง ในกระบวนการรีไซเคิลด้วยวิธีทางกล พบว่า มีปัญหาการแพร่กระจายของสารเติมแต่งที่ใส่เพื่อปรับคุณภาพพีวีซี ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม และสารกลุ่มพีซีบี นอกจากส่งผลลบต่อคนงานแล้วยังพบว่ามีไวนิลคลอไรด์ระบายสู่บรรยากาศโดยรอบโรงงานด้วย เช่นโรงงานในหลุยส์เซียน่า สหรัฐอเมริกา ที่พบว่ามีปริมาณไวนิลคลอไรด์ระบายสู่บรรยากาศสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศถึง 120 ในประเทศไทยเองมีโรงงานผลิตไวนิลคลอไรด์และพีวีซีตั้งอยู่ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง 5 แห่ง ผลการตรวจวัดโดยกรมควบคุมมลพิษระหว่างปี พ.ศ.2550 พบว่ ามีสารไวนิลคลอไรด์ และเอทิลีนไดคลอไรด์ (สารตั้งต้นผลิตไวนิลคลอไรด์) เจือปนอยู่ในบรรยากาศบริเวณนั้นเช่นกัน

ทางเลือก
ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้พีวีซีจำนวนมาก เช่น วัสดุก่อสร้างอาคารที่ปราศจากพีวีซี เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล
http://www.chemtrack.org