ระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ (SI) ตอนที่ 5 คำนำหน้าหน่วย (SI PREFIXES)

คำนำหน้าหน่วย (SI Prefixes) ในระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อให้การแสดงปริมาณมีความกะทัดรัดมากขึ้น คำนำหน้าหน่วยในระบบการวัดระหว่างประเทศจะเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาวางไว้หน้าหน่วยฐานเอสไอโดยสัญลักษณ์เหล่านี้จะเข้าไปคูณกับหน่วย เช่น ความยาวของสายรัดพลาสติก 1,500 m สามารถถูกแสดงในรูปแบบที่สั้นกว่าเดิมเป็น 1.5 km เป็นต้น

ตารางคำนำหน้าหน่วย (SI Prefixes)

ตัวประกอบ(FACTOR)

ชื่อคำนำหน้าหน่วย(PREFIX NAME)

สัญลักษณ์
(SYMBOL)

ตัวประกอบ(FACTOR)

ชื่อคำนำหน้าหน่วย(PREFIX NAME)

สัญลักษณ์
(SYMBOL)

101

เดคะ (deca)

da

10-1

เดซิ (deci)

d

102

เฮกโต (hecto)

h

10-2

เซนติ (centi)

c

103

กิโล (kilo)

k

10-3

มิลลิ (milli)

m

106

เมกะ (mega)

M

10-6

ไมโคร (micro)

µ

109

จิกะ (giga)

G

10-9

นาโน (nano)

n

1012

เทระ (tera)

T

10-12

พิโก (pico)

p

1015

เพตะ (peta)

P

10-15

เฟมโต (femto)

f

1018

เอกซะ (exa)

E

10-18

อัตโต (atto)

a

1021

เซตตะ (zetta)

Z

10-21

เซปโต (zepto)

z

1024

ยอตตะ (yotta)

Y

10-24

ยอกโต (yocto)

y

เมื่อรู้ความหมายของคำหน้าหน่วยแล้วทีนี้ก็สามารถเทียบหรือเปลี่ยนแปลงหน่วยได้หลากหลายขึ้น

ระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ (SI) ตอนที่ 4 ความยาว (Length)

สำหรับตอนที่ 1 2 และ 3 ก็ได้กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ หรือ SI (ย่อมาจากคำว่า System International d’ Unites หรือ International System of Unit) ไปแล้ว ซึ่งรวมทั้งได้กล่าวถึงนิยามของแต่ละหน่วยของหน่วยฐานเอสไอ (SI base unit definition) ไปแล้วเช่นกัน ส่วนในตอนที่ 4 นี้ จะพูดถึงนิยามของหน่วยของหน่วยฐานเอสไอ (SI base unit definition) ตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงหน่วยการวัดจากหน่วยหนึ่งไปเป็นอีกหน่วยหนึ่ง โดยจะเริ่มจากหน่วยฐานเอสไอตัวแรก คือ ความยาว (Length)

ความยาว (Length) หน่วยฐานเอสไอของความยาวมีหน่วยเป็น “เมตร” ซึ่งแต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่าน เมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ใน สุญญากาศ ในช่วงเวลา 1/299792458 วินาที สัญลักษณ์ของเมตรคือ m

ทีนี้ก็ทราบนิยามหน่วยความยาว (Length) ของหน่วยฐานเอสไอกันแล้ว ซึ่งปัจจุบันหน่วยความยาวนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว แต่ก็มีบ้างในบางประเทศที่ยังใช้หน่วยความยาวที่แตกต่างไปจากนี้และยังไม่ยอมเปลี่ยนมาใช้หน่วยความยาวที่เป็นหน่วยฐานเอสไอ เช่น อเมริกา ใช้หน่วยความยาวเป็น ฟุต (foot) ไมล์ (mile) เป็นต้น หรือบ้างครั้งในประเทศเราเองก็ยังใช้หน่วยการวัดความยาวที่ผสมกัน เช่น ความสูงใช้ เซนติเมตร แต่สัดส่วนดันใช้ นิ้ว หรือ ไม้ท่อนเดียวกัน หน้าไม้วัดเป็นนิ้ว ความยาววัดเป็นเมตร เป็นต้น

เมื่อหน่วยการวัดความยาวมีใช้กันหลายหน่วยซึ่งบางครั้งทำให้สับสนได้เหมือนกัน เนื่องจากเวลาเทียบหน่วยการวัดสองหน่วยที่มีหน่วยต่างกันทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าอันไหนมีความยาวมากน้อยกว่ากันเท่าเท่าไร

ที่มาของข้อมูล
www.cib-buu.com

ระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ (SI) ตอนที่ 2

ระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ(SI) คือ อะไร

ระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ หรือ SI คือระบบการวัดแบบเมตริกสมัยใหม่ ย่อมาจากคำว่า System International d” Unites หรือ International System of Unit ซึ่งแปลมาจากภาษาฝรั่งเศล Le Systéme International ď Unités เป็นระบบการวัดทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมาช้านานและปัจจุบันก็มีที่ใช้ในทางการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกและประเทศส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้นิยามหน่วยการวัดอื่นใดนอกเหนือไปจากระบบ SI อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบางประเทศที่ยังไม่ใช้หน่วยการระบบ SI อย่าง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ยังใช้หน่วยการวัดแบบอังกฤษดั้งเดิม (Customary, English, Imperial, American Unit) อยู่ เช่น หน่วย ฟุต ไมล์ ฟาเรนไฮต์ ปอนด์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระบบหน่วยการวัดก็เพิ่มมากขึ้นในวงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ รัฐบาล และหลายหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรม

ความเป็นมาของระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ (SI)

ระบบเมตริกได้ถือกำเนิดขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง (ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ Antoine –Laurant Lavoisier ซึ่ง เป็นที่รู้จักในนาม “บิดาแห่งเคมีสมัยใหม่” ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศส) เพื่อทำให้ระบบการวัดมีมาตรฐานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และระบบเมตริกถูกประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1799 หลังจากนั้นระบบเมตริกก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามพบว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบของการวัดทั่วโลกยังคงมีหลากหลายรูปแบบ บางระบบก็เป็นแบบเมตริก บ้างก็เป็นแบบดั้งเดิมของประเทศนั้น ๆ อยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีระบบการวัดที่ใช้อย่างเป็นสากล การประชุมทั่วไปว่าด้วยการชั่ง ตวง วัด ครั้งที่ 9 [9thGeneral Conference on Weights and Measures (CGPM)] ในปี ค.ศ. 1948 จึงมอบหมายให้คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการชั่งตวงวัด [Comit International des Poids et Measures (CIPM)] ทำการศึกษาการวัดที่จำเป็นในด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคนิค และในวงการวิชาการ และผลสืบเนื่องมาจากการศึกษานี้ ในการประชุม CGPM ครั้ง ที่ 10 ในปี ค.ศ. 1954 ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าระบบหน่วยการวัดสากลน่าจะมีทั้งหมด 6 หน่วย เพื่อให้ครอบคลุมการวัดทางด้านอุณหภูมิและการแผ่รังสีเชิงแสง (Optical Radiation) นอกเหนือไปจากปริมาณเชิงกลและทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม หน่วยทั้ง 6 ได้แก่ เมตร (metre) กิโลกรัม (kilogram) วินาที (Second) แอมแปร์ (ampere) เคลวิน (kelvin) และ แคนเดลา (candela) และในปี ค.ศ. 1960 จากการประชุม CGPM ครั้งที่ 11 หน่วยทั้ง 6 ได้รับการสถาปนาให้เป็น “ระบบหน่วยการวัดะรหว่างประเทศ” หรือที่เรียกว่า “SI” และ ในปี ค.ศ. 1971 ในการประชุม CGPM ครั้งที่ 14 ได้เพิ่มหน่วยวัดที่ 7 คือ โมล (mole) เข้าไปในหน่วยฐานเอสไอ (SI base unit)

ครับในบทความนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้นะครับแล้วคราวหน้าจะมาพูดถึงหน่วยฐานเอสไอ (SI base unit) กันต่อไป

ที่มาของข้อมูล
www.cib-buu.com

zp8497586rq

ระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ (SI) ตอนที่ 1

สวัสดีทุกท่าน บทความที่จะนำเสนอนี้เป็นความรู้ที่บางท่านอาจจะรู้มาแล้วบ้างแต่ทางเราเชื่อว่ายังมีบางท่านที่ยังไม่รู้ในเรื่องของหน่วยการวัดอีกไม่น้อยที่เดียว เนื่องจากประสบการณ์ที่ได้รับโทรศัพท์จากทางลูกค้าโทรมาสอบถามรายละเีอียดสินค้าซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยการวัด จะพบว่าบางท่านไม่สามารถจะเชื่อมโยงเพื่อเปลี่ยนแปลงหน่วยการวัดเป็นหน่วยที่ตนต้องการได้ เช่น จากหน่วยวัดที่เป็นนิ้ว (ตัวย่อคือ ” ) ไปเป็นเซ็นติเมตร (ตัวย่อคือ ซม. ในภาษาไทย และ cm. ในภาษาอังกฤษ) เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทางเราเล่งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาให้กับท่านได้เรียนรู้เพื่อจะได้มีความเข้าใจในหน่วยของการวัดมากขึ้น ซึ่งในบทความนี้จะเริ่มต้นด้วยกล่าวถึงวิวัฒนาการของการวัดก่อน

วิวัฒนาการของการวัด

ในสมัยโบราณนั้นบรรพบุรุษของเรายังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการวัดระยะยทาง เวลา พื้นที่ และปริมาตร จนบางครั้งเกิดปัญหาการสื่อความหมายที่ไม่ตรงกัน เมื่อมีการติดต่อไปมาระหว่างชุมชน มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน ทำให้ต้องมีหน่วยการวัดและเครื่องมือที่ใช้่ในการวัดที่ชัดเจนเพื่อสื่อความหมายได้ตรงกันมากขึ้น

สำหรับการวัดความยาวมีวิวัฒนาการเป็นลำดับคร่าว ๆ โดยระยะแรก ๆ มีการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง เช่น 1 นิ้ว, 1 คืบ, 1 ศอก, 1 วา แต่ก็ยังไม่

ที่มาของข้อมูล
www.cib-buu.com